ลักษณะการแสดง

ลักษณะการแสดงรองรองเง็งที่เหมือนกันกับรำวง คือ
มีการแบ่งการเต้นเป็นรอบๆ หรือเป็นเพลง นางรำเมื่อรำเสร็จจะกลับไปนั่งยังที่จัดเตรียมไว้ให้ 
เมื่อเพลงใหม่ดังขึ้น นางรำก็แต้นรำต่อจนจบเพลง
โอกาสที่จะแสดง ในอดีตจะมีการแสดงรองเง็งหรือ ตันหยง จะแสดงตามเทศกาลวันสำคัญต่างๆ ปัจุจบันมักแสดงในงานรื่นเริงหรืองานที่เป็นมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานเทศกาลของหมู่บ้าน เป็นต้น
องค์ประกอบของการแสดงรองเง็ง
ผู้เต้นรองเง็ง ศิลปะการแสดงรองเง็งเป็นศิลปะการแสดงหมู่ ประกอบด้วยผู้เต้นทั้งชาย และหญิงเป็นคู่ จำนวนคู่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่ แต่ที่นิยมเต้นกันไม่ต่ำกว่า ๕ คู่ ชาย - หญิงฝ่ายละ ๕ ชายหนึ่งแถวและหญิงหนึ่งแถว ยืนห่างกันพอสมควรเพื่อความงามของการแสดงหมู่ ผู้แสดงจะต้องรู้จักจังหวะเพลงและลีลาในการเต้นงดงาม
ท่าเต้น จะมีลีลาเต้นเคลื่อนไหวทั้งมือและเท้า รวมทั้งลำตัวอย่างนิ่มนวล จุดเด่นของการเต้นอยู่ที่การเต้นเปลี่ยนจังหวะช้าและเร็วของเพลงที่ใช้เต้น ลีลาของผู้เต้นก็จะเปลี่ยนไป บางเพลงมีลีลายั่วเย้าอารมณ์ และมีการหลบหลีกหยอกล้อเล่นหูเล่นตา บางเพลงมีการหมุนตัวสลับกันบ้าง นอกจากนั้นความงามอีกอย่างหนึ่งของการเต้นรองเง็งคือความพร้อมเพรียงในการเต้นและการก้าวเท้าไปหน้าและถอยหลังของท่าเต้น

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ที่มาของรูปภาพ : รองเง็งศิลปะการเต้นรำประกอบดนตรีพื้นเมืองใต้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

:  http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/Rongngeng/rongngeng.html. (23 มีานคม 2559).

ที่มาของเนื้อหา : รองเง็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/331-----m-s. (23 มีานคม 2559).